วันเสาร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2558

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 11

เป็นครั้งสุดท้ายของเทอมนี้  ในการเรียนวิชานี้  อาจารย์นัดสอบร้องเพลง  เพื่อนๆซ้อมกันใหญ่เลย










งานชิ้นสุดท้ายสำหรับเทอมนี้ก็คือ  

 

























ประเมินการร้องเพลงของตัวฉัน  ขาดความมั่นใจในการร้องเพลง  เนื่องจาดซ้อมน้อยเกินไปและอาจจจะกังวลว่าจะร้องออกมาไม่เพราะ















บันทึกการดรียนรู้ครั้งที่10



ความรู้ที่ได้รับ

-  วันนี้เป็นสัปดาห์สุดท้ายของการเรียนวิชา การจัดประสบการณ์ภาษาสำหรับเด็กปฐมวัย ก่อนจะรวบรวมแผ่นปั๊มเข้าเรียนส่งอาจารย์ กิจกรรมแรกคือ  การนำเสนองานของเพื่อนเรื่อง  "มันคืออะไรเอ่ย"   

  


  

























อาจารย์สอนให้เขียนแผนการสอน  การจัดประสบการณ์ของปฐมวัย  เพราะเราทุกคนต้องเขียนแผนนี้เป็นเพื่อนำไปใช้สอนเด็กปฐมวัย




การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

ได้รับความรู้ความเข้าใจในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งนำมาใช้ในการเรียน และการทำงานในอนาคตได้  และสามารถนำกิจกรรมหรือสิ่งที่เด็กอยากเรียนรู้  สอดแทรกสิ่งต่างๆให้เขาได้มากขึ้นนอกเหนือจากการสอนภายในแผน
นำการฝึกสมาธิที่อาจารย์พาทำ ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ เมื่อต้องการฝึกสมาธิ หรือการมีสมาธิในการทำในการสอบ หรือจะทำกิจกรรมต่างๆที่ต้องใช้สามธิมากๆเราก็สามารถทำก่อนได้

การประเมินผล

ประเมินตนเอง : มีความตั้งใจในการเรียน ให้ความร่วมมือกับเพื่อน ๆ การฝึกสมาธิ
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม สุกสนานมากกับการนำเสนอของเพื่อน
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เตรียมการสอนมาได้ดีมากค่ะ  ถึงจะเป็นเนื้อหาทางด้านวิชาการแต่ก็สนุกมากค่ะ  เพราะมีกิจกรรมมาสอดแทรกตลอด  ทำให้การเรียนการสอนดูไม่น่าเบื่อ  





 

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 9

ความรู้ที่ได้รับ

- ก่อนเริ่มการเรียนการสอน อาจารย์ก็มีกิจกรรมให้ทำ คือ การฟังเสียง ที่อาจารย์เปิดให้ฟัง แล้วทายว่า เป็นเสียงของอะไร ? ซึ่งครั้งแรกจะเป็นเสียงสัตว์ ได้แก่ หมา แมว หมู วัว ไก่โต้ง ม้า แม่ไก่ ลา แกะ นก  แล้วอาจารย์ก็เฉลย  "ทายถูกบ้าง  ผิดบ้าง "  

ต่อมา อาจารย์ก็ให้ฝึกเขียนกระดาน โดยแบ่งทำกิจกรรมเป็นกลุ่ม 
-เขียนชื่อ-สกุล ข้อมูลของตนเอง สลับกันกับเพื่อน
-เขียนตามคำบอกของเพื่อน โดยที่ต้องเขียนให้เร็วขึ้น
-จากนั้นก็เขียนข้อมูลส่วนตัว ที่อยากเขียน คัดสวย ๆ ไปส่งอาจารย์
































การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

- เมื่อมีความรู้ มีทักษะเกี่ยวกับการเขียนบนกระดาน ที่จำเป็นต้องได้ใช้ในอนาคตแน่นอน ก็ทำให้ตระหนักเห็นความสำคัญ ตั้งใจฝึกฝนบ่อย ๆ เพื่อจะได้มีลายมือที่สวยงาม เป็นระเบียบ และใช้ในการเรียนการสอนของเด็กปฐมวัยในวันข้างหน้า- สามารถนำเทคนิคการเขียนกระดานไปสอนเด็กได้  และยังสามารถฝึกฝนได้เรื่อยๆบ่อยๆ เพื่อจะได้เป็นแบบแก่เด็กๆได้ต่อไป

การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจทำกิจกรรม และตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังและทำงานที่อาจารย์มอบหมายให้อย่างตั้งใจ
ประเมินเพื่อน : เพื่อน ๆ ทุกคน เต็มที่ในการทำกิจกรรม ตั้งใจทำกิจกรรมที่อาจารย์มอบหมายให้เสร็จทันเวลาภายในที่อาจารยืกำหนด  บรรยากาศในห้องสนุกสนานมากค่ะ
ประเมินอาจารย์ : อาจารยืหากิจกรรมมาสอนเพื่อผ่อนคลายให้กับเราจะได้เรียนไม่ดเครียดมากเกินไป และมีการติชมเรื่องลายมือที่เขียนว่าต้องไปฝึกฝนเพิ่มเติมแค่บางตัวเท่านั้น






บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 8


ความรู้ที่ได้รับ

- กิจกรรมการนำเสนอการร้องเพลงของเพื่อน   และให้ตัวแทนกลุ่มออกมาสมมุติบทบาทเป็นครู บรรยากาศการเรียนการสอนช่วงนี้ สนุกสนานเฮฮามาก อดขำกันไม่ได้เลย 









กิจกรรมต่อมา คือ  กิจกรรมการเล่นเกมเพื่อเตรียมความพร้อมในการเรียนเนื้อหาต่อไป เกมนั้นคือการกระซิบคำจากคนแรก จนมาถึงคนสุดท้ายของแถว แล้วให้คนสุดท้าย ลุกขึ้นพูดคำที่ได้รับจากการฟังเพื่อนบอกมา ถ้าหากกลุ่มใดพูดได้ถูกต้องตามแบบที่ครูให้ ก็แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจ การจดจำรายละเอียดของประโยคนั้นได้ดี
                                          "กระซิบกันใหญ่เลย "
                                     " หลังจากทำกิจกรรมเสร็จก็เริ่มเข้าสู่บทเรียนกันเลย"








  • ก็เข้าสู่เนื้อหาด้านวิชาการเกี่ยวกับ "การสอนแบบโครงการ (Project Approach)" ในการบรรยายความรู้จากอาจารย์นั้น ก็จะมีตัวอย่างโครงการของเด็ก ๆ มาให้ศึกษาด้วย ซึ่งจากที่จับใจความได้ ทำให้ได้ความรู้ ดังต่อไปนี้
  • การทำโครงการ คือ การให้เด็กระดมสมอง หรือระดมความคิดกัน (จะไม่ใช้คำว่า โหวต) ว่าเด็ก ๆ มีความสนใจ และอยากจะทำเรื่องอะไร เมื่อสรุปได้แล้ว 
  • วันต่อมา ครูก็ต้องเตรียมแผ่นชาร์ต ขีดเส้นเตรียมเขียนให้เรียบร้อย เพื่อนำมาสอบถามประสบการณ์เดิมของเด็ก ๆ แต่ละคนที่มีต่อเรื่องที่จะทำ
  • วันต่อมา คือ แผ่นชาร์ตคำถามที่เด็กอยากรู้ โดยถามทีละคน จนครบ 
  • และวันต่อมา จะต้องมีแผ่นชาร์ต สอบถามกิจกรรมที่เด็กอยากทำ ซึ่งการทำโครงการนั้นจะต้องตอบคำถามที่เด็กถามได้ทั้งหมด ดำเนินการตามกิจกรรม และสรุปจัดนิทรรศการ




จากนั้น อาจารย์ก็ให้ดูวิดิโอเกี่ยวกับการสอนแบบโครงการ (Project Approach) เรื่อง "กล้องถ่ายรูป" ของโรงเรียนเกษมพิทยา เพื่อเป็นตัวอย่าง และทำให้มีความเข้าใจมากยิ่งขึ้น


  • กระบวนการที่สำคัญในการสอนแบบโครงการ (Project Approach) นั้น มี 5 ข้อ ดังนี้
  1. การอภิปรายกลุ่ม
  2. การนำเสนอประสบการณ์
  3. การศึกษานอกสถานที่ หรืองานในภาคสนาม
  4. การสืบค้น
  5. การจัดแสดง















การนำความรู้ไปประยุกต์ใช้

  • สามารถเป็นแนวทางในการจัดการสอนในอนาคต เกี่ยวกับการสอนแบบโครงการ (Project Approach) เพื่อนำไปปฏิบัติอย่างถูกต้อง และสามารถต่อยอดให้โครงการมีความน่าสนใจ ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กได้รอบด้าน
การประเมินผล
ประเมินตนเอง : ตั้งใจทำกิจกรรมอย่างเต็มที่ และตั้งใจฟัง ในการสอนโครงการ (Project Approach)
ประเมินเพื่อนเพื่อน ๆ ทุกคน เมื่อถึงเวลาทำกิจกรรมก็ช่วยกันเต็มที่ จริงจัง
ประเมินอาจารย์ : อาจารย์เตรียมการสอนมาดีมาก มีการสอดแทรกกิจกรรมสนุก ๆ และฝึกสมาธิก่อนจะเรียน ทำให้การเรียนไม่น่าเบื่อ